ทฤษฏีสัมพันธบท ในโทโทโร่

Apirak
3 min readJan 6, 2024

--

ไปเจอบน FB แล้วชอบมาก ถึงมากที่สุด เลยขอเอามาบันทึกเอาไว้ก่อน

https://www.facebook.com/photo?fbid=349907967820416&set=a.124605080350707

🥰 สิ่งที่ชอบคือ Comment ของคุณ Time Chuastapanasiri ที่เขียนไว้ดีมากๆ พี่เค้าเริ่มโดยบอกว่า

เรื่องนี้ มีเค้าโครงมาจากคดีฆาตกรรมลักพาตัวที่โด่งดังในญี่ปุ่น

ผู้สร้าง สร้างเค้าโครงจากเหตุการณ์ ทั้งชื่อเด็ก เวลา เดือน มาจากคดีเขย่าขวัญคนญี่ปุ่น

มีคนไปถามผู้สร้าง ว่าสร้างมาจากเรื่องจริงใช่ไหม ผู้สร้างปฏิเสธ แต่ (ตามทฤษฎีสัมพันธบท — intertexuality) อธิบายว่า “ทุกเรื่องเล่า ล้วนมีร่องรอยสัมพันธ์กันเสมอ”

การ์ตูนเรื่องนี้ “เจตนาลึกๆ ของผู้สร้าง ต้องการ “เปลี่ยนความทรงจำอันโศกเศร้าของชาวญี่ปุ่น ต่อโศกนาฏกรรมของสองพี่น้อง ให้เป็นความทรงจำใหม่ที่ดีๆ” เป็นการปลอบประโลมหัวใจเด็กๆ ให้ผ่านพ้นประสบการณ์คดีฆาตกรรมลักพาตัว

ลบรอยเป็นบาดแผลในความทรงจำที่ไม่ดี ให้ทดแทนใหม่ด้วยจินตนาการแฟนตาซีที่อบอุ่น ตอนจบ เด็กๆ พ่อแม่ ได้กลับมาอยู่ด้วยกันที่บ้าน อย่างมีความสุข

ใครอยากรู้เรื่องนี้ ไปสืบค้นอ่านต่อกันเอาเอง ไปเริ่มต้นที่คำว่า Sayama Incident 1963

💁 จากนั้นก็มีพี่อีกคนมา comment ต่อ พร้อมแนบรูป

😤 พี่ Time ก็ตอบต่อไปว่า

ผมก็บอกแล้วไง ว่าทางสตูดิโอออกมาปฎิเสธ ว่าไม่เกี่ยวข้องนี่ครับ ต้องบอกก่อนด้วยครับ ว่า ใครไปเรียนทฤษฎีทางสื่อ นิเทศศาสตร์ วรรณกรรมวิเคราะห์ หรือ วรรณกรรมเปรียบเทียบมา จะเข้าใจ ทฤษฎีสัมพันธบท

(ไม่ใช่สัมพันธภาพ อันนั้นมันของไอน์สไตน์)

“การตีความเป็นเอกสิทธิ์ของผู้ชม ผู้อ่าน ผู้ฟัง” ซึ่ง ผู้รับสาร มีสิทธิ์ที่จะตีความ ทำความเข้าใจ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสนใจการสร้าง เจตนา การใส่รหัส ของผู้สร้างหรือผู้ประพันธ์ เพราะ “ความหมายเป็นสิ่งที่คลาดเคลื่อน แปรเปลี่ยนได้”

การใส่รหัส ของผู้สร้าง (encode) กับการถอดรหัส ของผู้ชม (decode) ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องตรงกัน และการตีความเป็นอย่างอื่นของผู้เสพ ก็มีคุณค่ามากกว่าความหมายเดียวของผู้สร้าง

หากใครได้เรียนวิชาวรรณกรรม หรือ นิเทศศาสตร์ มา จะเข้าใจเรื่อง สัมพันธบท in-tert-ext-tual-lity ที่อธิบายว่า “มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่เล่าเรื่อง และมีเรื่องเล่า ที่ปะติดปะต่อมาจากเหตุการณ์ต่างๆ เสมอ

ไม่มีเรื่องเล่าอะไรที่เป็นจริงแท้ต้นตำรับ

(ไปอ่าน Julia Kristeva) นักทฤษฎีวรรณกรรม สัญวิทยา ในยุคโพสต์โมเดิร์น ดูครับทุกเรื่องเล่าต่างก็มี “ความสัมพันธ์-ร่องรอย-ความละม้าย-คล้ายคลึง” กับอีกเรื่องเล่านึงเสมอๆ (หรือมักเรียกว่า แรงบันดาลใจ)

การเสพสื่อปัจจุบัน ความหมายมิใช่เอกสิทธิ์ของผู้สร้าง แต่เป็นสิทธิของผู้เสพ ที่จะเชื่อมโยงตีความนะครับ และ ไม่มีใครบอกว่า ผิดหรือถูก เพราะขึ้นอยู่กับการตีความ (interpretation) ของแต่ละคน

Jacques Derrida เรียก ความคลาดเคลื่อนของความหมายในมุมผู้รับสาร ว่าเป็น “différance’” แปลความเป็นไทย คือ ความคล้ายเคลื่อน

คือ คล้ายกับจะเป็นของเดิม แต่เพิ่มเติมเคลื่อนออกไปจากความหมายต้นทางไปอีก

🤩 คุณ Color Frame ก็ชงต่อว่า

👍 คุณ Time ก็มาบอกว่าถูกต้องครับ

the author is dead! ถูกต้องครับ , ในยุคโพสต์โมเดิร์น ฟรีดิช นิทเช่ ประกาศว่า “พระเจ้าตายไปแล้ว” ไม่มีพระเจ้าผู้สร้างอีกต่อไป , ผู้ประพันธ์ก็คงเช่นเดียวกัน

ในยุค post-structuralism นักภาษาศาสตร์หลังโครงสร้างนิยม พัฒนาแนวคิดเรื่องสัญวิทยาขึ้นมา เพื่ออธิบายเรื่อง “กระบวนการใส่ความหมายลงไปในสัญญะ” และบอกด้วยว่า การตีความตามตัวบท ตามเจตนาของผู้สร้างนั้น ไม่ใช่สาระสำคัญอีกต่อไป ไม่มีใครสนใจความหมายเดียวๆ หรือเจตนาของผู้ประพันธ์อีกต่อไป

เพราะความหมาย เกิดจากการตีความตามประสบการณ์และมุมมองของผู้อ่าน ที่สามารถเป็นไปได้ และคลาดเคลื่อนเลื่อนออกจากความกมายต้นทางของผู้ประพันธ์

ในกรณีนี้ แฟนๆ หนังจิบิล (ซึ่งแรก ก็คือคนชาวญี่ปุ่น) ก็ดูหนังเรื่องนี้ แล้ว ถอดรหัส ตีความ ตามประสบการณ์ ณ ห้วงเวลานั้น ในประเทศ ที่เมื่อ ปี 1968 เกิดเหตุการณ์ลักพาตัว-ฆาตกรรม สองพี่น้องในเดือนพฤษภาคม (เมย์-may)

แฟนๆ จิบลิ ที่เป็นชาวญี่ปุ่น เขาเองก็สนใจตีความหนังจากเรื่องเล่าที่ถูกนำเสนอผ่านข่าวโทรทัศน์ เรื่องลึกลับจากคดี เรื่องซุบซิบแต่งต่ เติมไปเรื่อยๆ

ไม่มีใครสนใจหรอก ว่าผู้ประพันธ์ สร้างหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจริงๆ หรือไม่

การที่ทางสตูดิโอ ออกมาปฎิเสธนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วละครับ

ถามว่าทำไมสตูดิโอออกมาปฏิเสธ

1. ถ้าออกมายอมรับ ว่าสร้างเรื่องมาจากเหตุการณ์คดีฆาตกรรม , บริษัท และธุรกิจ จะถูกมองอย่างไร? (แง่ลบ เอาความตายของเด็กมาหากิน ต่อยอด)

2. เป็นการกระทำซ้ำเติมโศกนาฎกรรม แก่เหยื่อ และครอบครัว (ต้องโดนแบนการฉาย ต้องขอโทษเหยื่อ และครอบครัว เสี่ยงต่อภาพลักษณ์บริษัทที่ทำงานบนแฟนตาซี จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์)

3. กลายเป็นตราบาป ของบริษัท ไปอีกนาน หุ้นตก กลายเป็นเรื่องฉาว ด่างพร้อยแก่คนทำงาน

ปฏิเสธความเกี่ยวข้อง จึงดีที่สุด ต่อทุกๆ ฝ่ายครับ

🥰 เป็น comment ที่ทรงคุณค่ามากๆ จนต้องเอามาบันทึกเอาไว้ก่อน ใครอยากอ่าน ให้ครบสามารถตามไปอ่านได้ใน Post ต้นทางนะครับ
> Facebook ต้นทาง

สุดท้ายเรื่องนี้ถ้าเอามาตีความเพิ่มเติม ก็สามารถตอบโจทย์เรื่องของการวิจารย์งานภาพวาด การจิตนาการในเรื่องงานออกแบบต่างๆ พวกป้ายสัญลักษณ์ ที่จะเปิดให้คนคิดต่อเอง หรือแบบที่พยายามให้ผู้ใช้ตีความให้ถูกต้อง

หรือคิดยาวไปถึงเรื่อง UI การตีความผิดก็เป็นอิสระของผู้ใช้ ในทางกลับกันการออกแบบให้คนตีความผิดก็เป็นสิ่งที่นักออกแบบต้องเอามาคิดทบทวนว่าตัวเองทำผิดพลาดอะไร ไม่ใช่ไปโทษผู้ใช้

คนทำ UX ต้องวิเคราะห์บริบทของผู้ใช้ให้ดีว่าเค้ารับข่าวอะไรอยู่ ในช่วงนั้นมีความเชื่ออะไร เมื่อเจอเนื่องเรื่องของเราเค้าจะตีความอย่างไร งานชิ้นนี้เราอยากตั้งคำถามในใจผู้ใช้ หรือเราอยากตอบคำถามในใจผู้ใช้อันนี้ก็ต้องวางแผนก่อนให้ดี เช่น

ออกแบบภาพ ผู้หญิงกับผู้ชาย ถ้าอยู่ในบริบทที่เราอยากให้เกิดคำถามในใจผู้ใช้ถึงความเท่าเทียมกัน เราก็อาจจะวาดผู้หญิงและผู้ชายคลายกัน ให้ตีความยาก

แต่ถ้าบริบทของเราคือสัญลักษณ์ห้องน้ำ อันนี้เป็นการตอบคำถามในใจผู้ใช้ก็ต้องวาดให้ตีความง่ายหน่อย

สุดท้ายการใส่รหัส (encode) และการถอดรหัส (decode) เป็นเรื่องที่นักสร้างสรรค์ที่ดีจะต้องคิดเอาไว้แล้ว อยากสื่อสารอะไรก็ต้องเข้าใจเรื่องนี้ก่อน สิ่งที่เราอยากออกแบบเป็นการตั้งคำถาม หรือเป็นการตอบคำถาม อยากให้เค้ารู้สึกอย่างไร บริบทที่เค้ารับรู้อยู่เป็นแบบไหน

มันไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องขอบคุณ คุณ Time และเก็ทนะเดอะมูฟวี่ ที่เอามาลงไว้ ทำให้คิดต่อยอดไปได้ไกลเลยครับ 🙏

--

--

Apirak

I am a big believer that great UX comes from all team members, not one. #UX Evangelist at ODDS #Co-founder of UX Academy #Certified Sprint Master.