Data Visualization ของผลการเลือกตั้ง

Apirak
UX ACADEMY TH
Published in
2 min readMay 16, 2023

--

ในมุมของ Data Visualization ต้องบอกว่าของ Thai PBS ทำออกมาได้ดีมากๆๆๆๆ (ทีม inox.co.th) ผมชอบที่หน้าบิดข้อมูลเค้าไม่ได้เปลี่ยนภาพไปเรื่อยๆ แต่ยึดแผนที่เป็นหลักเอาไว้ตรงกลาง แล้วมีด้านขวาเป็นตัวเปรียบเทียบพรรค จากนั้นด้านซ้ายก็เอาไว้บิดข้อมูล ทำให้คนอ่านข้อมูลก็ไม่ต้องเรียนรู้ใหม่ ใช้ความเข้าใจชุดเดิมตีความได้เลย แถมทำแบบนี้ยังช่วยให้ Frontend ทำงานได้ง่ายเพราะมีแบบเดียว คนที่จัดการข้อมูล และ Backend ก็ทำงานง่ายเพราะไม่ต้องคอยจัดชุดข้อมูลหลายแบบ

การทำให้ของ Simple นั้นโคตร Complicate

หลายคนอาจจะมองว่ามันก็ต้องเป็นแบบนี้อยู่แล้วหรือเปล่า? ก็ไม่น่าจะคิดยากนี่? ผมอยากบอกเลยว่ายาก!! ถ้าเราลองดูเว็บอื่นๆ เราจะพบว่าในหนึ่งหน้ามีการแสดงผลหลายแบบ เพราะต้องการเปรียบเทียบให้เรามองเห็นได้ง่ายๆ ในแต่ละมุม แต่นั้นก็ตามมาด้วยการที่ผู้ใช้ต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วย การตัดสินใจตัดออกเพื่อความ Simple จึงต้องใช้ความเข้าใจและไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

แต่ละเว็บก็มีการตัดสินใจไม่เหมือนกัน

ของ Delinews ผมชอบที่ผู้ใช้ไม่ต้องบิดอะไรเลย เห็นภาพเดียวจบชัดเจนในหน้าเดียวถ้าเป็นสายไม่ได้เอามาวิเคราะห์ต่อผมว่าของ Delinews ดีสุด (จัดโดยทีมคนธรรมดา ODDS| )

ของ The Standard จะมีให้เล่นเยอะเลย ก็น่าจะถูกจริตของกลุ่มเป้าหมาย (ผมก็เป็นกลุ่มนั้นด้วย) ถ้าจะตามก็ดูบนสุด ถ้าจะวิเคราะห์ก็ดูตรงกลาง ถ้าจะเล่นก็ลงมาล่างสุด (จัดโดยทีม cleverse)

ของ Vote62 อันนี้จะดูยากหน่อยเพราะแผนที่ล้นจอ แต่เป้าหมายหลักของเค้าน่าจะไม่ใช่เรื่องการมองภาพใหญ่ แต่เป็นการเจาะดูแต่ละเขตเพื่อให้คนส่งข้อมูลเข้าไปรายงานผล เลยให้พื้นที่สำหรับการรายงาน และตัวเลขเยอะหน่อย (จัดโดย Opendream 😍)

จริงๆ จะบอกว่า ThaiPBS มีแบบเดียวก็ไม่ได้ เพราะหน้าอื่นๆ เค้าก็มี Visualization แบบอื่น แต่ผมมองว่าเทียบกับรูปแบบการบิดข้อมูลที่มีเยอะมาก การที่เค้าทำให้เหลือหน้าแค่นี้ก็เยี่ยมมากแล้ว

จริงๆ Thai PBS ก็มีการแสดงผลหลายแบบ

ลองเอาเขตที่คะแนนใกล้กันออกมา

ผมจะเห็นเขตที่คะแนนใกล้กันแค่เขต 20 ของกทม ที่ออกข่าวบ่อยๆ แต่พอดูจากภาพนี้จะเห็นชัดเลยว่ามีอีกหลายเขตทั่วประเทศ และกระจายกันไปทุกๆ พรรค

จะมีของเพื่อไทยเยอะหน่อยถึง 9 ที่นั่ง อันนี้ก็น่าสนใจว่าทำไมถึงเยอะกว่าคนอื่น ถ้าในภาพมีแสดงด้วยว่าสูสีกับใครก็น่าจะดี (แต่ก็จะเพิ่มความซับซ้อนให้ภาพไปอีก) อาจจะต้องลดสีที่ไม่ได้ Highlight ลงอีก ถึงจะเพิ่มความซับซ้อนเข้าไปได้

เทียบคะแนนพรรค กับคะแนนผู้สมัคร

ภาพนี้ก็น่าสนใจเพราะทำลายความเชื่อที่บอกว่า “คนจะเลือกพรรคเดียวกัน ทั้งแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ”

นอกจากนั้นเรายังเห็นด้วยว่า แนวโน้มของทั้งประเทศมาทางไหน ถ้าเราตั้งสมติฐานว่า “เลือกเขตตามคน เลือกพรรคตามจุดขายของพรรค” อันนี้ก็บอกได้ชัดเจนว่าคนส่วนมากชอบนโยบายของพรรคใด หรือสมติฐานอาจจะเป็น “เลือกเขตตามกระสุน แต่เลือกพรรคกระแส” ซึ่งจะอธิบายได้แบบมีข้อยกเว้นถ้าเชื่อว่าก้าวไกลไม่มีงบซื้อกระสุน

Interactive Visualization

ผมชอบของ The Standard อีกอันคือไม่ใช่แค่แสดงผลเฉยๆ แต่เราสามารถเล่นได้ด้วย ถือว่าฉลาดมากๆ 🤩 แถมทำภาพออกมาได้สวย Dicut ได้เนียนกิ๊บ (งาน Dicut ในงาน interactive มันทำยากกว่าภาพนิ่งมาก เพราะมันต้องอยู่บนพื้นหลังหลายแบบด้วยต้องทดสอบกันดีๆ) ทีมงาน Graphic ยอดฝีมือจริงๆ

สรุป

ผมเชื่อว่าการที่มีคนไทยติดตามเว็บของแต่ละสำนักกันเยอะ และได้เสพ Visualization ดีๆ จนทำให้เค้าเคยตัวว่าจะได้เห็นภาพที่บริโภคง่ายๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงกดดันให้ทุกที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นไปอีก ถ้ามี UX คนไหนที่อยากเชี่ยวชาญด้านนี้ก็ลองศึกษาเรื่อง Data Visualization ไว้นะครับ น่าจะรุ่งเรื่องแน่ๆ 🎉

Note: มีเพิ่มเติมเล็กน้อยว่างานนี้แต่ละทีมจัดการหลังบ้านได้ดีมากๆ เราแทบไม่ค่อยรู้สึกถึงปัญหาเว็บค้างทั้งๆ ที่พวกเรากด refresh กันกระจาย เป็นการย้ำว่า การออกแบบ Experience ที่ดีไม่ได้มีแค่งานหน้าบ้านนะต้องคิดถึงหลังบ้านด้วย ตรงนั้นก็ซับซ้อนได้ใจเช่นกัน 💪

ใครที่สนใจอยากย้ายสายมาทำงานด้าน UX หรืออยากเข้าใจว่าตั้งต้นด้วย Product กับตั้งต้นด้วย Experience นั้นต่างกันอย่างไร ส่งผลต่อการทำงานอย่างไร อยากชวนให้มา Workshop ของ UX Academy กันครับ

นานๆ จะจัด UX Workshop เองซะทีครับ ปกติจะไปจัดแบบ Inhouse ตามบริษัทต่างๆ และจัด UI Workshop กับทาง Skooldio เป็นหลัก ก็อยากชวนทุกคนมาเล่นด้วยกันครับ ถ้าสนใจสามารถสมัครกับทาง Eventpop ได้เลยครับ

ตอนนี้พึ่งเริ่มประกาศก็จะเป็นราคา Early Bird อยู่ครับ งานนี้จะจัดอีกทีก็น่าจะปลายปีไม่ก็ปีหน้าไปเลย 😅

--

--

I am a big believer that great UX comes from all team members, not one. #UX Evangelist at ODDS #Co-founder of UX Academy #Certified Sprint Master.